โรคของเหงือกและฟันในน้องตูบ [ Periodontitis in Dogs ]
ภาพจาก wallcoo.net
โรคปริทนต์ (Periodontitis) เป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ยึดเหนี่ยวฟัน, เนื้อเยื่อของเหงือก, เอ็นที่ยึดเหงือกและฟัน, โพรงรากฟัน, และ เนื้อเยื้อคล้ายกระดูกที่คลุมรากฟันเพื่อช่วยยึดเกาะรากฟัน เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในสุนัข สาเหตุเกิดจากแบคทีเรียที่สร้างพลากค์ (Plaque) เคลือบฟัน
โรคปริทนต์เป็นสาเหตุในการสูญเสียฟัน ในคนเรียกโรคนี้ว่าฆาตกรเงียบที่ทำลายโครงสร้างพื้นฐานของฟัน โรคปริทนต์ยังเป็นโรคที่อาจก่อให้เกิดโรคปอดบวมเนื่องจากการสำลักในคน โดยเชื้อแบคทีเรียจะเข้าทางกระแสเลือดเมื่อเราเคี้ยวอาหารหรือแปรงฟัน แต่ปริมาณเชื้อจะเข้าไปน้อยมากและยังไม่ทราบว่าไปก่อให้เกิดโรคอะไรในร่างกายบ้าง และโรคปริทนต์ยังสามารถทำให้เกิดอาการกรามหักได้
โรคปริทนต์พบได้ในสุนัขทุกวัยที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปและพบมากถึง 80 – 90% ของสุนัข มีโรคหลาย ๆ โรคที่ทำให้มีอาการคล้ายโรคปริทนต์ เช่น เหงือกอักเสบ (Gingivitis) เป็นการอักเสบของเหงือก และเป็นสาเหตุเริ่มต้นของโรคปริทนต์ได้ แต่โรคเหงือกอักเสบการอักเสบจะไม่มากและลึกเท่าโรคปริทนต์
ฝีที่รากฟัน (Periapical abscess) เป็นฝีที่อยู่รอบ ๆ โคนรากฟัน ทำให้ฟันแตกและเจ็บปวด
กรามหัก อาจเป็นสาเหตุเนื่องมาจากโรคปริทนต์ ฟันอักเสบ (Endodontic)
อาการ
ปากเหม็น
มีเลือดออกที่เหงือก
ฟันร่วง
มีแผลในปาก
ฟันโยก
เหงือกร่น
เบื่ออาหาร
การวินิจฉัย
ตรวจร่างกายและซักประวัติ โดยเฉพาะช่องปาก โดยเฉพาะตอนวางยาสลบ
ฉายภาพรังสีช่องปาก เพื่อดูความสมบูรณ์ของฟันและรากฟัน ดูขอบเหงือกว่ามีการร่นหรือไม่และดูการอักเสบของรากฟันและโพรงรากฟันอาจต้องวางยาในรายที่ต้องการทำประวัติของฟันอย่างละเอียด
โดยใช้โพรบ (Probe) ตรวจดูขอบเขตของเหงือก และ ตรวจว่ามีโพรงที่เหงือกหรือไม่
ตรวจค่าเคมีในเลือด (Biochemical profile)
ตรวจนับเม็ดเลือด (CBC)
ตรวจปัสสาวะ (Urinalysis)
เพาะเชื้อแบคทีเรีย (Anaerobic culture) โดยเพาะหาเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน ในรายที่เป็นเรื้อรังเพื่อหายาปฏิชีวนะที่เหมาะสม
การรักษา
ถอนฟันที่โยกหรือฟันที่เสียส่วนที่ยึดเกาะรากฟันกับกระดูกไปแล้ว 75% อาจให้ยาปฏิชีวนะก่อนการถอนฟัน 1 ชั่วโมง โดยเฉพาะยาที่มีผลกับเชื้อแบคทีเรียประเภทแกรมลบที่พบมากในช่องปาก
จากนั้นจึงทำการวางยาสัตว์
พ่นยาฆ่าเชื้อที่ช่องปากก่อนการถอนฟันโดยใช้ 0.12% Chlorhexidine เพื่อป้องกันเชื้อที่ฟุ้งมากับอากาศ
ขูดหินปูนด้วยเครื่องขูดหินปูน ควรขูดให้ลึกลงไปใต้เหงือกเล็กน้อย โพรงกระดูกที่รากฟันอยู่อาจต้องมีการเย็บปิด ซึ่งต้องกำจัดเชื้อโรคให้หมดก่อนเย็บปิดเพราะเชื้ออาจจะดื้อยาได้ให้ยาอย่างน้อยสองสัปดาห์เพื่อฆ่าเชื้อ
การดูแล
โรคปริทนต์จะไม่เกิดถ้าดูแลสุขภาพฟันอย่างดี ด้วยการทำความสะอาดฟันโดยแปรงฟันให้สุนัขทุกวันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการดูแลสุขภาพของฟัน อาหารที่ใช้ในการดูแลช่องปากบางชนิดช่วยได้ ยาสีฟันจะช่วยในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ในรายที่เป็นโรคปริทนต์รักษายากหรือเรื้อรังควรแปรงฟันทุกวัน
ควรกลับไปให้สัตวแพทย์ตรวจสุขภาพฟันทุก 3 – 6 เดือน
การป้องกัน
วิธีเดียวที่ดีที่สุดคือการแปรงฟันด้วยยาสีฟันสำหรับสัตว์
ตรวจสุขภาพฟันทุก 3 – 6 เดือน
ขูดหินปูนเป็นประจำเพื่อป้องกันฟันผุ
ในอนาคตอาจมีวัคซีนป้องกันโรคนี้
โรคของช่องปากและฟันในสุนัข เป็นโรคซึ่งพบได้บ่อยเวลาที่เจ้าของพาน้องหมามาตรวจที่คลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์ และปัญหาต่าง ๆ ในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหากลิ่นปาก มีหินปูน หรือฟันผุ ฯลฯ ล้วนมีส่วนทำให้น้องหมารู้สึกไม่สบายทั้งกายและใจ เพราะอาจมีอาการเจ็บปวดที่เหงือกและฟันคอยรบกวน ซ้ำร้ายกลิ่นปากของน้องหมายังอาจทำให้เจ้าของบางคนถึงกับดีตัวออกห่างเลยทีเดียว (รักแท้แพ้กลิ่นปาก)
เพราะเหตุนี้ เจ้าของจึงควรให้ความสำคัญในการดูแลสุขอนามัยในช่องปากของน้องหมา ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการดูแลสุขภาพในส่วนอื่นๆ ด้วยการช่วยทำความสะอาดช่องปากและฟันให้เค้าอย่างสม่ำเสมอ จะสามารถช่วยให้น้องหมามีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี และไม่มีกลิ่นปากอีกด้วยค่ะ
เหตุใดจึงต้องดูแลสุขภาพช่องปากและฟันให้น้องหมา
เนื่องจากโรคช่องปากและฟัน หรือ โรคปริทันต์ นั้น เป็นโรคติดเชื้อซึ่งพบได้มากในสัตว์เลี้ยงทั่วโลก มีรายงานในประเทศสหรัฐอเมริกาว่า สุนัขที่มีอายุมากกว่า 3 ปีมากถึงร้อยละ 85 เป็นโรคเหงือกอักเสบ และยิ่งพบมากขึ้นเมื่ออายุของสุนัขทุกช่วงอายุของสุนัขเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ยังพบอีกด้วยว่าโรคเหงือกอักเสบนั้นเป็นโรคที่พบได้มากที่สุดในสุนัขทุกช่วงอายุ ในประเทศออสเตรเลีย พบว่ามีสุนัขที่ป่วยเป็นโรคเหงือกอักเสบ มากถึงร้อยละ 95
ทำความรู้จักโรคในช่องปาก
โรคในช่องปาก ดังนี้
โรคเหงือกอักเสบ เป็นการอักเสบบริเวณขอบเหงือก
โรคปริทันต์ เป็นการอักเสบของเหงือก เอ็นยืดปริทันต์ เคลือบรากฟัน และกระดูกเบ้าพัน
การเกิดคราบจุลินทรีย์ (Plaque) มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่สามารถกำจัดออกไปได้ด้วยการแปรงฟัน
ส่วน คราบหินปูน (Tartar, Calculus) ไม่สามารถทำความสะอาดได้ด้วยการแปรงฟัน ต้องทำการรักษาโยการขูดหินปูนที่คลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์เท่านั้น
โรคในช่องปากซึ่งพบได้บ่อยที่สุดและเป็นปัญหา ก็คือ การเกิดหินปูนตามขอบฟัน ซึ่งสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองของเหงือกรอบฐานของฟัน หากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะเกิดการติดเชื้อ ส่งผลให้เหงือกอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ และเจ็บคอ
อาการที่พบเมื่อน้องหมามีโรคในช่องปาก
อาการในระยะเริ่มแรกที่สามารถพบได้ เช่น เหลือกบวมและอักเสบ มีคราบจุลินทรีย์ และความหินปูนมาเกาะ
ปากเหม็น เหงือกมีเลือดออกง่าย หากไม่รักษาจะพบอาการที่เป็นมากยิ่งขึ้น เช่น ร่องเหงือกและฟันลึกขึ้น เห็นรากฟัน
ฟันโยกฟันหลุด ถ้าพบเห็น อาการเหล่านี้ก็ให้สงสัยได้เลยค่ะว่า น้องหมาของเรามีปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน
ควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยด่วนเลยค่ะ ก่อนที่ปัญหาจะลุกลามมากกว่าเดิม
การทำความสะอาดฟัน
จุดประสงค์ของการทำความสะอาดฟัน ได้แก่...
ช่วยลดปริมาณคราบจุลินทรีย์
ทำให้สภาพเหงือกและฟันดีขึ้น กระตุ้นให้เนื้อเยื่อต่างๆ มีการสร้างขึ้นมาใหม่
เพื่อความสวยงามของช่องปากและฟัน ช่วยให้ฟันสะอาด ลดกลิ่นปาก
... หนึ่งสัญญาณอันตรายที่บ่งบอกได้ถึงสุขภาพของน้องหมาก็คือ อาการผิดปกติในช่องปากค่ะ ... ถ้าหากน้องหมาของเพื่อนๆ มีกลิ่นปากเหม็นหรือมีเลือดออกที่เหงือกบ่อยๆ ล่ะก็ ทราบไว้เลยนะคะว่า นั่นคืออาการเริ่มต้นของโรคปริทนต์ค่ะ
"โรคปริทันต์ (Periodontitis disease)" เป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ยึดเหนี่ยวฟัน , เนื้อเยื่อของเหงือก , เอ็นที่ยึดเหงือกและฟัน , โพรงรากฟัน และเนื้อเยื้อคล้ายกระดูกที่คลุมรากฟันเพื่อช่วยยึดเกาะรากฟัน เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในสุนัข สาเหตุเกิดจากแบคทีเรียที่สร้างพลากค์ (Plaque) เคลือบฟัน โรคปริทันต์เป็นสาเหตุในการสูญเสียฟัน เป็นเหมือนฆาตกรเงียบที่ทำลายโครงสร้างพื้นฐานของฟันของสุนัข ส่วนใหญ่แล้วจะพบในสุนัขทุกวัยที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปและพบมากถึง 80 – 90% ของสุนัข ทั้งนี้ มีโรคหลายๆ โรคที่ทำให้มีอาการคล้ายโรคปริทนต์ เช่น
- เหงือกอักเสบ (Gingivitis) เป็นการอักเสบของเหงือก และเป็นสาเหตุเริ่มต้นของโรคปริทันต์ได้ แต่โรคเหงือกอักเสบอาการการอักเสบจะไม่มากและลึกเท่าโรคปริทันต์
- ฝีที่รากฟัน (Periapical abscess) เป็นฝีที่อยู่รอบ ๆ โคนรากฟัน ทำให้ฟันแตกและเจ็บปวด
- กรามหัก อาจเป็นสาเหตุเนื่องมาจากโรคปริทนต์ ฟันอักเสบ (Endodontic)
อาการของโรคปริทันต์ในสุนัข คือ ปากเหม็น , มีเลือดออกที่เหงือก , ฟันร่วง , มีแผลในปาก , ฟันโยก , เหงือกร่น , เบื่ออาหาร
สาเหตุของโรคปริทันต์เริ่มจากการมีเศษอาหารตามซอกฟัน ทำให้มีการสะสมของเชื้อแบคทีเรียและแคลเซียมที่บริเวณฟันจนเกิดเป็นหินน้ำลาย และจากหินน้ำลายหากไม่มีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีแล้วนั้นนานวันเข้าหินน้ำลายจะเกิดการก่อตัวเป็นหินปูน (calculus formation) เกาะตามฟันซี่ต่างๆ เมื่อเชื้อแบคทีเรียมากขึ้นจะส่งผลให้เนื้อเยื่อปริทันต์อักเสบ เกิดการทำลายเยื่อบุผิวฟันและเนื้อเยื่อรอบฟัน มีการอักเสบของเหงือกและเนื้อเยื่อในช่องปาก รวมทั้งทำให้เกิดการสลายของกระดูกเบ้าฟันที่ยึดฟันอยู่ ในสุนัขที่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อปริทันต์รุนแรงทำให้กรามหัก หรือเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสโลหิตทำให้ติดเชื้อในระบบอื่นของร่างกาย เช่น หัวใจ ตับ และไต ทำให้สัตว์เสียชีวิตได้ ซึ่งความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนของเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงสารที่เชื้อแบคทีเรียเหล่านี้สร้างออกมาด้วย ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าปัญหากลิ่นปากเพียงเล็กน้อยที่เจ้าของอาจละเลยกับสัตว์เลี้ยงของท่านอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่กระทบต่อสุขภาพโดยรวมของสัตว์เลี้ยงก็เป็นได้ ดังนั้นเราควรเริ่มมาสังเกตอาการที่บ่งบอกว่าสัตว์เลี้ยงของท่านน่าจะเริ่มมี
สำหรับวิธีการตรวจวินิฉัยของสัตวแพทย์อาจทำโดย
- ตรวจร่างกายและซักประวัติ โดยเฉพาะช่องปาก โดยเฉพาะตอนวางยาสลบ
- ฉายภาพรังสีช่องปาก เพื่อดูความสมบูรณ์ของฟันและรากฟัน ดูขอบเหงือกว่ามีการร่นหรือไม่และดูการอักเสบของรากฟันและโพรงรากฟันอาจต้องวางยาในรายที่ต้องการทำประวัติของฟันอย่างละเอียด
- โดยใช้โพรบ (Probe) ตรวจดูขอบเขตของเหงือก และ ตรวจว่ามีโพรงที่เหงือกหรือไม่
- ตรวจค่าเคมีในเลือด (Biochemical profile)
- ตรวจนับเม็ดเลือด (CBC)
- ตรวจปัสสาวะ (Urinalysis)
- เพาะเชื้อแบคทีเรีย (Anaerobic culture) โดยเพาะหาเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน ในรายที่เป็นเรื้อรังเพื่อหายาปฏิชีวนะที่เหมาะสม
ทั้งนี้หลังจากการรักษาแล้วผู้เลี้ยงจะต้องให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพในช่องปากของสุนัขด้วย โดยการทำความสะอาดฟันโดยแปรงฟันให้สุนัขทุกวันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการดูแลสุขภาพของฟัน อาหารที่ใช้ในการดูแลช่องปากบางชนิดช่วยได้เหมือนกัน เช่น อาหารเม็ดที่มีคุณสมบัติช่วยขัดหินปูนที่เกาะตามฟันสุนัข หรืออาจะเป็นยาสีฟันจะช่วยในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ควรพาสุนัขไปให้สัตวแพทย์ตรวจสุขภาพฟันทุก 3 – 6 เดือนด้วยค่ะ
ส่วนใครที่ไม่อยากให้น้องหมาป่วยเป็นโรคนี้ล่ะก็วิธีป้องกันที่ดีที่สุดมีอยู่วิธีเดียวก็คือ การแปรงฟันด้วยยาสีฟันสำหรับสัตว์ และตรวจสุขภาพฟันทุก 3 – 6 เดือน ขูดหินปูนเป็นประจำเพื่อป้องกันฟันผุ ... สำหรับในอนาคตนั้นอาจมีวัคซีนป้องกันโรคนี้ค่ะ
วิธีการทำความสะอาดฟัน
1. ดูแลให้สุนัขได้กินอาหารที่ช่วยในการขัดฟัน หรือให้ของเล่นชนิดขบเคี้ยวแก่สุนัขบ้าง ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการขัดคราบสกปรกออกไปจากฟันของสุนัขได้
-
ทำความสะอาดฟันและช่องปากให้สุนัขด้วยการแปรงฟัน หลังจากที่เขากินอาหารทุกครั้ง ซึ่งการแปรงฟันให้สุนัขนั้นให้ใช้แปรงสีฟันสำหรับสุนัข (ซึ่งอาจจะเป็นแบบมีด้ามหรือแบบเป็นปลอกสวมนิ้วก็ได้) และใช้ยาสีฟันที่ผลิตขึ้นมาสำหรับสุนัขเท่านั้น ห้ามใช้ยาสีฟันของคนโดยเด็ดขาด
ทั้งนี้ ควรฝึกให้สุนัขคุ้นเคยกับการแปรงฟันตั้งแต่อายุยังน้อย
ลักษณะของช่องปากที่มีสุขภาพที่ดี
ต้องประกอบไปด้วย มีเหงือกเป็นสีชมพู ฟันสะอาดไม่มีคราบจุลินทรีย์ และไม่มีหินปูน เหงือกไม่ร่นเหงือกอยู่แนบกับตัวฟัน มีขอบเขตของเหงือกที่ชัดเจน
นอกเหนือจากการพาน้องหมาไปพบสัตวแพทย์ เพื่อตรวจสอบช่องปากเป็นระยะแล้ว (ควรทำทุก ๆ 6-12 เดือน) การดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันของสุนัขด้วยตนเองที่บ้าน (Home Care) นั้น นับเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เจ้าของมีบทบาทสำคัญในการช่วยดูแลเอาใจใส่ หากเราหมั่นรักษาสุขภาพช่องปาก และฟันของสัตว์เลี้ยง ไม่เพียงแต่จะลดกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์เท่านั้น แต่ยังสามารถช่วยลดปัญหาโรคช่องปากและฟันดังที่กล่าวมาข้างต้นได้ด้วย เพียงเท่านี้ น้องหมาของเราก็จะมีสุขภาพที่ดี
ถ้าใครไม่อยากให้น้องหมาป่วยล่ะก็ ต้องรีบดูแลสุขภาพช่องปากของเขาตั้งแต่เนิ่นๆ นะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีของน้องหมาที่เรารักค่ะ ^^
ปลาน้ำจืดไทย ป่าเขา-ทะเลไทย เที่ยวจัง!...ตังค์จะหมดแล้ว...
ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
http://www.thailanddogshow.com
http://www.dogilike.com
http://www.dogdodee.bizdsign.com
|